พระธาตุเจดีย์

เจดีย์ เจดีย์ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ก่อด้วยอิฐถือปูน เจดีย์องค์นี้ตามตำนานได้กล่าวถึงการสร้างหลายครั้งหลายคราว ลักษณะขององค์เจดีย์ประกอบด้วย ลักษณะสำคัญ คือ เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลานนาไทยประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ตั้งบนฐานเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีฐานเขียงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น จากใหญ่ไปหาเล็ก ตั้งบนฐานบัวลูกแก้ว ถัดขึ้นไปเป็นมาลัยเถา 3 วง จากนั้นก็ถึงองค์ระฆังเล็กปลายผายออกคาดกลาง ด้วยลายประจำยามอกตรงกลาง บัลลังก์กลม ปล้องไฉนและส่วนยอดเป็นฉัตร องค์เจดีย์หุ้มด้วยแผ่นทองจังโกทั้งหมดตั้งแต่ฐานถึงยอด การหุ้มพระเจดีย์ด้วยแผ่นทองและการยกฉัตรไว้ตามมุมพระเจดีย์ถือว่าเป็นคติจากพุกามซึ่งแพร่อิทธิพลมา(ภาสกร โทณะวณิก,2529) การศึกษาเอกสารต่างๆ สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏโดย ศึกษาถึงรูปทรง และรูปแบบของเจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลานนาไทยซึ่ง ลักษณะที่สำคัญของเจดีย์ทรงกลมแบบลานนาไทย คือ เจดีย์ที่มีส่วนสำคัญอันเป็นจุดเด่น มีลักษณะเป็นทรงกลม คือส่วนองค์ระฆังสำคัญที่สุด เจดีย์ทรงกลมของลานนาจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือส่วนฐาน ทำเป็นบัวลูกแก้วย่อเก็จ ถัดไปเป็นส่วนมา

...รายละเอียดเพิ่มเติม

ประตูโขง(ทิศตะวันออก)

ซุ้มโขงอยู่บริเวณประตูทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ประตูซุ้มโขงอยู่บริเวณทางขึ้นด้านทิศตะวันออกเป็นประตูผ่านเข้าสู่ภายในเขตพุทธาวาส ที่ให้ความสำคัญมากว่าประตูทางเข้าส่วนอื่นเห็นได้จาก การประดับตกแต่งทั้ง สถาปัตยกรรม และประติมากรรม ซุ้มโขงแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนอาคาร และส่วนยอด( พรรณนิภา ปิณฑวณิช, 2546)


ซุ้มประตูโขง เป็นสถาปัตยกรรม ที่ทำหน้าที่เป็นซุ้มประตู กำแพงทางเข้าของวัด ลักษณะของซุ้มประตูโขง มีรูปแบบเช่นเดียวกับปราสาท มีการประดับตกแต่ง ด้วยลวดลายปูนปั้นตามส่วนต่างๆ ลักษณะสำคัญของซุ้มประตูโขง คือเป็นมณฑปทรวดทรงเป็นปราสาทเครื่องยอด ลดทีละชั้น ผนังด้านข้างซุ้มช่วงที่ต่อกับกำแพง ส่วนบนเป็นซุ้มโค้งประดับด้วยนาคที่มุมทั้งสองข้าง ปลายหางขมวดยอด กระหวัดรัดเป็นเกลียวสู่เบื้องบน ส่วนซุ้มโค้งข้างบนของทางเข้าแบ่งเป็นสองส่วน คือซุ้มโค้งส่วนหน้าและส่วนหลัง ลวดลายปูนปั้นที่ประดับซุ้มส่วนหน้า ทำเป็นลายพันธ์พฤกษาโค้งไปตามแนวของซุ้ม ด้านบนของซุ้มโค้งส่วนหน้า ทำเป็นรูปหงส์ ยืนเรียงรายกันเป็นแถว ส่วนมุมของซุ้มส่วนหน้า ทั้งสองข้างทำเป็นรูปกินนร และกินรียืนข้างละตัว ปลายซุ้มเป็นรูปตัวเหงา

...รายละเอียดเพิ่มเติม

ประตูทิศเหนือ

ประตูทางด้านทิศเหนือ บริเวณทางขึ้นเชิงบันได เป็นรูปมกรคายนาค เช่นเดียวกับทางทิศตะวันออก แต่ลักษณะการตกแต่งด้วยปูนปั้น ความละเอียดลออของลวดลายน้อยกว่าเพราะมิใช่ประตูหลักปัจจุบันถูกปิดไว้ จะเปิดทุกวันพระและวันประเพณีประจำเช่น ประเพณียี่เป็ง ประเพณี เดือน 4 หรือ 6 เป็นต้น

...รายละเอียดเพิ่มเติม

ประตูทิศใต้

ประตูทางด้านทิศใต้ภายในเขตพุทธาวาส กำแพงผนังด้านซ้ายและขวาของประตู ฉาบด้วยปูนเรียบสีขาว มีช่วงเสาแบ่งห้องเป็นศาลาบาตรล้อมรอบเขตพุทธาวาสใช้สำหรับประกอบศาสนกิจและเก็บของ (พรรณนิภา ปิณฑวณิช 2546, 96-97 )


ประตูทางด้านทิศใต้ภาพนี้ อยู่ด้านเขตพุทธาวาส กำแพงแก้ว ด้านซ้ายและขวาของประตู ก่ออิฐถือปูน มิได้ฉาบเรียบเช่นในเขตพุทธาวาส ความแตกต่างนี้ สร้างเสน่ห์ของกำแพงได้อย่างงดงาม(พรรณนิภา ปิณฑวณิช 2546, 96-97 )

...รายละเอียดเพิ่มเติม

ระเบียงคด

ระเบียงคด คือ สถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่ล้อมเขตพุทธาวาส เปิดทางเข้าออก 3 ทาง มีซุ้มประตูโขงทางทิศตะวันออก รูประเบียงคดที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันบูรณะเมื่อ พ.ศ.2507 ลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ระเบียงคดของวัดพระธาตุลำปางหลวงประกอบด้วย กำแพงแก้วและศาลาบาตร กำแพงแก้วเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบตันมีความหนามาก ทำหน้าที่เป็นผนังข้างหนึ่งของศาลาบาตร แต่มีลักษณะทางโครงสร้างที่แยกออกจากกัน ศาลาบาตรเป็นศาลาเปิดด้านหน้า หลังโครงสร้างไม้บนเสาปูนที่คงได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง ลักษณะโครงสร้างใช้ขื่อและดั้งในการรับน้ำหนักหลังคากระเบื้อง(พรรณนิภา ปิณฑวณิช,2546)

...รายละเอียดเพิ่มเติม